วิชาความรู้ทั่วไป
1) การประกันวินาศภัยในประเทศไทย แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆได้
ก) 5 ประเภท
ข) 4 ประเภท
ค) 3 ประเภท
ง) 2 ประเภท
2) การเล่นการพนันถือเป็นการเสี่ยงภัย (Risk) ประเภทใด
ก) การเสี่ยงภัยแท้จริง(Pure Risk)
ข) การเสี่ยงภัยเก็งกาไร (Speculative Risk)
ค) การเสี่ยงภัยเบื้องต้น (Primary Risk)
ง) การเสี่ยงภัยเฉพาะ (Particular Risk)
3) การประกันภัยและการพนันมีลักษณะแตกต่างกันทุกประการ แต่มีลักษณะหนึ่งที่เหมือนกันคือ
ก) เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์อันไม่แน่นอนในอนาคต
ข) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับส่วนได้เสียเหมือนกัน
ค) เป็นเรื่องที่เสี่ยงหากาไรเหมือนกัน
ง) เป็นเรื่องที่ลดการเสี่ยงภัยเหมือนกัน
4) การประกันภัยโจรกรรม ถือเป็นการประกันวินาศภัยประเภทใด
ก) การประกันอัคคีภัย
ข) การประกันภัยสินค้า
ค) การประกันภัยรถยนต์
ง) การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
5) ลักษณะสำคัญของสัญญาประกันภัย
ก) เป็นสัญญาเพื่อการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ข) เป็นสัญญาต่างตอบแทน
ค) เป็นสัญญาที่อาศัยความซื่อสัตย์อย่างยิ่งของคู่สัญญา
ง) ถูกทุกข้อ
6) ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการประกันภัยและการพนัน
ก)การประกันภัยเป็นการเสี่ยงหากาไร แต่การพนันไม่ได้มีเจตนามุ่งหวังกาไร
ข) การประกันภัยและการพนันไม่ได้มีผลบังคับตามกฏหมาย
ค) ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย แต่ผู้เล่นการพนันไม่ต้องมีส่วนได้เสียในเรื่องที่เอาพนัน
ง) การประกันภัยและการพนันเป็นการสร้างการเสี่ยงภัยขึ้นเอง
7) ข้อใดมิใช่หลักสำคัญพื้นฐานของสัญญาประกันภัย
ก) หลักส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย
ข) หลักสาเหตุใกล้ชิด
ค) หลักการจ่ายค่าสินไหมกรุณา
ง) หลักการรับช่วงสิทธิ์
8) ที่มาของรายได้ของธุรกิจประกันภัยมาจากแหล่งใดบ้าง
ก) การรับเบี้ยประกันภัยจากการรับประกันภัย
ข) การนาเบี้ยประกันภัยไปลงทุนตามกฏหมายกำหนด
ค) ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
ง) ผิดทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
9) ใบสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย (Endorsement) หมายถึง
ก) ข้อความที่เขียนแถลงข้อความจริงก่อนทาสัญญาประกันภัย
ข) ข้อความที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติมจากข้อความปกติในกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อจะเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง แก้ไข เงื่อนไขหรือข้อความต่างๆจากเงื่อนไขหรือข้อความเดิมซึ่งจะทาขึ้นก่อนหรือหลังการเอาประกันภัยก็ได้
ค) ข้อความที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น
ง) ข้อความที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติม จากข้อความปกติในกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อที่จะเตือนความจาของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประกันภัย
10) การรับประกันภัยร่วม (Co-Insurance) หมายถึง
ก) การที่ผู้รับประกันภัยหลายรายตกลงร่วมกันรับประกันภัยรายเดียวกันตามอัตราส่วนที่ตกลงกันไว้
ข) การที่ผู้รับประกันภัยมากกว่าหนึ่งรายเข้าไปสำรวจภัยก่อนการรับประกันภัย
ค) การที่ผู้รับประกันภัยแบ่งภาระด้านความเสี่ยงภัยไปให้แก่ผู้รับประกันภัยอื่นอีกทอดหนึ่ง
ง) การที่ผู้รับประกันภัยหลายรายตกลงร่วมกันจ่ายค่าสินไหมทดแทน
11) การรับประกันภัยต่อ (Reinsurance) หมายถึง
ก) การที่ผู้รับประกันภัยแบ่งภาระด้านความเสี่ยงภัยไปให้แก่ผู้รับประกันภัยอื่นอีกทอดหนึ่ง คำถาม ประกันภัยรถยนต์
ข) การที่ผู้เอาประกันภัยส่วนใหญ่กำหนดให้มีการร่วมรับประกันภัยมากกว่า 1 รายขึ้นไป
ค) การที่ผู้รับประกันภัยต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยให้กับผู้เอาประกันภัยโดยอัตโนมัติแล้ว ให้ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยภายใน 30 วันหลังจากกรมธรรม์ประกันภัยเริ่มใหม่
ง) การที่ผู้รับประกันภัยกำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับความเสี่ยงภัยไว้เองส่วนหนึ่ง
12) ถ้ามีเอกสารใบสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย(Endorsement) ขัดแย้งกับข้อความใดในกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องตีความตามเอกสารใด
ก) กรมธรรม์ประกันภัย
ข)ใบสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย
ค) กรมธรรม์ประกันภัยหรือใบสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยโดยผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายเลือก
ง) กรมธรรม์ประกันภัยหรือใบสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัยโดยผู้รับประกันภัยเป็นฝ่ายเลือก
13) การกระทำโดย ทุจริต ของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยหมายถึง
ก) การกระทำโดยมิชอบด้วยกฏหมายด้วยตนเอง
ข) การรู้เห็นเป็นใจให้ผู้อื่นกระทาโดยมิชอบด้วยกฏหมายต่อตนเอง
ค) ถูกทั้ง ก. และ ข.
ง) ไม่มีข้อใดถูก
14) ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยจะตกลงแก้ไข เปลี่ยนแปลงให้ต้องรับผิดตามสัญญา
ประกันภัยแม้จะเกิดจากสภาวะส่งเสริมให้เกิดสภาวะภัย ทางศีลธรรม (Moral Hazard) ได้หรือไม่
ก) ไม่ได้ เพราะเป็นข้อยกเว้นตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ข) ได้ เพราะเป็นข้อยกเว้นตามสัญญาประกันภัย สามารถซื้อความคุ้มครองโดยจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มได้
ค) ได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการประกันวินาศภัยแบบใด
ง) ได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าผู้เอาประกันภัยเคยมีประวัติการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือไม่
15) กรณีใดบ้างที่ผู้รับประกันภัยบอกล้างสัญญาประกันภัยไม่ได้
ก) ผู้เอาประกันภัยไม่เปิดเผยข้อความจริงในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญา
ข) ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความอันเป็นเท็จในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญา
ค) บริษัทรู้ข้อเท็จจริงนั้นอยู่ก่อนแล้ว แต่ยังได้รับประกันภัยไว้
ง) ไม่มีข้อใดถูก
16) ในการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจในส่วนการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก หากผู้เอาประกันภัยนำรถยนต์ไปใช้นอกเหนือจากทีระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยแล้วไปก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเป็นจำนวนเงินเท่าใด
ก) 1,000 บาท
ข) 2,000 บาท
ค) 3,000 บาท
ง) ไม่ต้องรับผิดชอบ
17) กรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถเป็นข้าราชการประสบอุบัติเหตุจากรถที่มีประกันตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกับบริษัท สมโชคประกันภัย จำกัด ขอทราบว่าที่ถูกต้องแล้ว ผู้ประสบภัยรายนี้ควรใช้สิทธิในการเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากที่ใด
ก) เบิกจากส่วนราชการที่สังกัด
ข) เบิกจากบริษัท สมโชคประกันภัย จำกัด
ค)เบิกจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
ง) เบิกจากส่วนราชการหรือบริษัท สมโชคประกันภัย จำกัดแล้วแต่ความสมัครใจ
18) นายเต๋าขับรถยนต์ซึ่งทำประกันภัยตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535 ไว้กับบริษัท บริการดีประกันภัย จำกัดชนรถจักรยานที่ ด.ช.ดำขี่อยู่ข้างถนน ทำให้ด.ช.ดาได้รับบาดเจ็บสาหัสเสียค่ารักษาพยาบาลไป 100,000 บาท ด.ช.ดำสามารถไปเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัท บริการดีประกันภัย จำกัดได้หรือไม่และเรียกได้ประการใด
ก) เรียกค่ารักษาพยาบาลได้ จำนวน 100,000 บาท
ข) เรียกค่ารักษาพยาบาลได้ จำนวน 50,000 บาท
ค) เรียกค่ารักษาพยาบาลไม่ได้ เพราะรถจักรยานไม่มีประกันภัย
ง) เรียกค่ารักษาพยาบาลได้ จำนวน 15,000 บาท
19) ในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย รถยนต์ข้อใดมีอัตราเบี้ยประกันภัยสูงสุด
ก) รถบรรทุกไม้
ข) รถบรรทุกเหล็ก
ค) รถบรรทุกแก๊ส
ง) รถบรรทุกหิน
20) รถจักรยานยนต์ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสาหรับผู้ประสบภัยโดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่กฏหมายกำหนดอย่างไร
ก) 50,000 บาทต่อครั้ง
ข) 200,000 บาทต่อครั้ง
ค) 5,000,000 บาทต่อครั้ง
ง) 10,000,000 บาทต่อครั้ง
ชื่อของผู้เข้าสอบ