Tags : ศรีกรุงโบรคเกอร์, ประกันภัยรถยนต์ประกันภัย 2 plus, 3+
Member Login
ลืมรหัสผ่าน?
 
 
 

 

 

 

 

 

.. แบบทดสอบความรู้นายหน้าประกันวินาศภัย

 

          

วิชาประกันภัยรถยนต์ ชุดที่1

1) กรณีหากผู้เอาประกันภัยเลือกทาประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ โดยระบุให้นายเก่งและนายกล้าเป็นผู้ขับขี่ ต่อมานายครามได้ขับรถคันเอาประกันภัยไปชนรถคู่กรณีเสียหาย ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ต้องมีส่วนรับผิดชอบในความเสียหายส่วนแรกสำหรับความเสียหายของคู่กรณีเป็นเงินเท่าใด
ก) 2,000 บาท
ข) 4,000 บาท
ค) 6,000 บาท
ง) 8,000 บาท

2) กรณีรถ 2 คันซึ่งต่างก็จัดให้มีการประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกัน โดยยังไม่ทราบฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้โดยสารในรถจะขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากที่ใด
ก) จ่ายเงินเอง
ข) โดยสารรถคันใดมา ให้ยื่นขอรับค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถคันนั้น
ค) รถของคู่กรณี
ง) กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

3) ค่าเสียหายเบื้องต้นหมายถึงข้อใด
ก) ค่ารักษาพยาบาลตามความเป็นจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
ข) ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าปลงศพ รวมกันไม่เกิน 30,000 บาท
ค) ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าปลงศพ รวมกันไม่เกิน 60,000 บาท
ง) ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท และ/หรือค่าปลงศพ 35,000 บาท

4) ในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จะขอรับได้ในกรณีใด
ก) ไม่ทราบว่ารถคันใดก่อให้เกิดความเสียหาย หรือชนแล้วหนี
ข) อุบัติเหตุเกิดจากรถที่ถูกลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์หรือถูกยักยอก และเจ้าของแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนไว้แล้ว
ค) ประสบอุบัติเหตุจากรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีการประกันภัยตามกฏหมาย
ง) ถูกทุกข้อ

5) เจ้าของรถหลีกเลี่ยงไม่ยอมจัดทำประกันภัยตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ท่านคิดว่าเจ้าของรถจะมีความผิดหรือไม่ อย่างไร
ก) มีความผิด ระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี
ข) มีความผิด ระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ค) มีความผิด ระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 50,000 บาท
ง) ไม่มีความผิด กฎหมายยังผ่อนผันให้จนกว่าจะพร้อม

6) จากเหตุการณ์ข้างต้น อยากทราบว่านายสมศักดิ์(ผู้ให้เช่า)มีความผิดหรือไม่ อย่างไร
ก) ไม่ผิด เพราะนายสมศักดิ์ไม่ได้ครอบครองรถคันดังกล่าว
ข) ไม่ผิด เพราะนายสมศักดิ์ไม่ได้ใช้รถคันดังกล่าว
ค) ผิด เพราะนายสมศักดิ์ให้เช่ารถที่ไม่มีประกันภัย
ง) ผิด เพราะนายสมศักดิ์ไม่จัดทำประกันภัย

7) จากเหตุการณ์ข้างต้น อยากทราบว่านายสมทรง(ผู้เช่า)มีความผิดหรือไม่ อย่างไร
ก) ไม่ผิด เพราะนายสมทรงไม่ใช่เจ้าของรถ
ข) ไม่ผิด เพราะนายสมทรงไม่ทราบว่ารถคันดังกล่าวไม่มีประกันภัย
ค) ผิด เพราะนายสมทรงใช้รถยนต์คันที่ไม่ได้จัดให้มีประกันภัย
ง) ผิด เพราะนายสมทรงไม่ยอมจัดทำประกันภัย

8) บริษัทประกันภัยจะปฏิเสธการจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หากปรากฏว่าอุบัติเหตุเกิดจาก
ก) บริษัทประกันภัยจะปฏิเสธการจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หากปรากฏว่าอุบัติเหตุเกิดจาก
ข) ใช้รถขนยาเสพติด
ค) การใช้โดยบุคคลของอู่
ง) การขับขี่ขณะเมาสุรา

9) บริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตให้รับประกันภัยรถ ปฏิเสธไม่ยอมรับประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มีความผิดต้องระวางโทษอย่างไร
ก) ปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 50,000 บาท
ข) ปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท
ค) ปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 250,000 บาท
ง) ปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 500,000 บาท

10) นายก้าวขับขี่รถจักรยานยนต์ซึ่งมีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ไว้กับบริษัทประกันภัย โดยมีนายข้าวหอมเป็นผู้ซ้อนท้าย เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนรถยนต์ไม่ทราบหมายเลขทะเบียนซึ่งได้หลบหนีไป เป็นเหตุให้นายข้าวหอมเสียชีวิต ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ลงความเห็นว่า รถยนต์ที่หลบหนีไปเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฏหมาย อยากทราบว่านายข้าวหอมจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. หรือไม่
ก) ไม่ได้รับ เนื่องจากคู่กรณีเป็นฝ่ายผิดและหลบหนีไป
ข) ได้รับเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพ 35,000 บาท
ค) ได้รับค่าปลงศพเต็มตามกรมธรรม์ประกันภัย 100,000 บาท
ง) ได้รับค่าปลงศพจำนวน 40,000 บาท เนื่องจากคู่กรณีหลบหนีไป

11) นายรุ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ซึ่งได้จัดให้มีการทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถยนต์ซึ่งขับขี่โดยนายสามารถซึ่งรถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถฝ่าฝืนมิได้จัดให้มีการทำประกันภัย เป็นเหตุให้นายรุ่งบาดเจ็บสาหัส กรณีดังกล่าวนายรุ่งสามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้หรือไม่ อย่างไร
ก) ได้ จากบริษัทประกันภัยรถจักรยานยนต์
ข) ได้ จากนายสามารถผู้ขับขี่รถยนต์
ค) ได้ จากสำนักงาน คปภ.
ง) ได้ จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถยนต์

12) ข้อใดที่ไม่ใช่ความหมายของ “ ค่าเสียหายเบื้องต้น ” ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
ก) ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
ข) ค่าปลงศพ
ค) ค่าขาดรายได้ระหว่างรักษาพยาบาล
ง) ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ

13) . ข้อใดไม่ถือว่าเป็นผู้ประสบภัยจากรถตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
ก) ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถจักรยานสองล้อชนกัน
ข) ผู้ที่ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น
ค) ผู้ที่เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากรถ
ง) ผู้ที่ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเนื่องจากรถที่ใช้

14) ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฏหมายหรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฏหมาย ผู้ขับขี่จะได้รับการชดใช้หรือไม่อย่างไร
ก) ไม่ได้รับการชดใช้ใดๆ เพราะเป็นฝ่ายผิดเอง
ข) ได้รับการชดใช้เต็มจำนวนความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย
ค) ได้รับการชดใช้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น
ง) ได้รับเท่ากับผู้ประสบภัยที่โดยสารมาในรถคันเดียวกัน

15) หากผู้เอาประกันภัยประสงค์จะขยายความคุ้มครองไปถึงการใช้รถยนต์นอกเขตประเทศไทย ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด
ก) จ่ายเพิ่มเดือนละ 5% ของเบี้ยประกันภัยเต็มปี
ข) จ่ายเพิ่มเดือนละ 5% แต่รวมแล้วไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันภัยเต็มปี
ค) จ่ายเพิ่มสำหรับแต่ละประเทศ ในอัตราเดือนละ 5% ของเบี้ยประกันภัยเต็มปี
ง) ผิดหมดทุกข้อ

16) รถไฟชนรถกระบะซึ่งมีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ปรากฎว่าคนขับรถไฟและรถกระบะเสียชีวิต ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ขับขี่รถกระบะเป็นฝ่ายประมาททำให้ผู้อื่นเสียชีวิต อยากทราบว่าคนขับรถไฟจะได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ (ถ้าได้)ได้จากที่ใด
ก) ได้ จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
ข) ได้ จากบริษัทประกันภัยของรถกระบะ
ค) ได้ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย
ง) ไม่ได้

17) นายสุวิทย์ขับขี่รถซึ่งมีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ไปประสบอุบัติเหตุที่รัฐยะโฮ ประเทศมาเลเซียเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเบตงอยากทราบว่าค่ารักษาพยาบาลจำนวนนี้สามารถเบิกได้หรือไม่
ก) ได้ จากบริษัทประกันภัย
ข) ได้ จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
ค) ไม่ได้ เพราะอุบัติเหตุเกิดนอกราชอาณาจักร
ง) ไม่ได้ เพราะไม่มีใบขับขี่นานาชาติ

18) บรรดาความผิดตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่มีโทษปรับสถานเดียวให้นายทะเบียนมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ และเมื่อได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในกี่วันให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ก) 15 วัน
ข) 30 วัน
ค) 45 วัน
ง) 60 วัน

19) ผู้ประสบภัยจากรถในข้อใด สามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้
ก) รถของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งในขณะเกิดเหตุได้ทาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ไว้แล้ว
ข) รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาลซึ่งในขณะเกิดเหตุได้ทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ไว้แล้ว
ค) รถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนก่อนที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประกาศใช้และได้ทำประกันภัยไว้แล้ว
ง) รถยนต์มีประกันภัยตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แต่ถูกโจรกรรมไป และเจ้าของรถได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน

20) นายกมลเป็นเจ้าของรถยนต์และได้จัดให้มีการทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กับบริษัทประกันภัย ต่อมานายขมเพื่อนสนิทของนายกมลได้ขอยืมรถยนต์คันดังกล่าวของนายกมลไปขับขี่ประสบอุบัติเหตุเฉี่ยวชนนางสาวมะลิเสียชีวิตขณะเดินข้ามถนน บริษัทประกันภัยซึ่งรับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก) ไม่ต้องรับผิด เนื่องจากผู้ขับขี่ไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัย
ข) รับผิด เนื่องจากนำรถไปใช้โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของแล้ว
ค) ไม่ต้องรับผิด เนื่องจากบริษัทประกันภัยไม่เชื่อว่าเจ้าของรถได้ให้ความยินยอมแล้ว
ง) ไม่มีข้อใดถูก


ชื่อของผู้เข้าสอบ

 

หัวข้อวิชาสอบ

 

 

Written by ชยุต เจริญทวีภากูล on : 2016-09-05 read : 42315


 

 

 

 

เว็บไซต์นี้จัดทำโดยนายหน้าฯ ประกันวินาศภัย ของ บ. ศรีกรุงโบรคเกอร์ จก.(ไม่ใช่เว็บไซต์ของบริษัทฯ สงวนสิทธิเฉพาะทีมงานเท่านั้น)
ที่อยู่ เลขที่ 2 ซ.เอกชัย 83/1 ถ.เอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กทม. 10150
ติดต่อ คุณชยุต เจริญทวีภากูล โทรศัพท์ 085-4389159 อีเมลล์ : chayutctk@gmail.com